การฉีดยาเราจะมีแต่ไซริ้งค์(กระบอกฉีดยา)อย่างเดียวไม่ได้นะค้าบบบ ต้องมีเข็มด้วย เอาไว้ทิ่มแทง แทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจ (อันนี้ไม่ใช่) เอาไว้ทิ่มผ่านผิวหนังแล้วจะปล่อยยาตรงตำแหน่งไหนขึ้นกับชนิดยาครับ โดยมีช่องทางการทิ่มแทงให้ยาหลักๆ ดังนี้
-ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง(Subcutaneous Injection)
-ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(Intramuscular Injection)
-ฉีดเข้าเส้นเลือด(Intravenous Injection)
เดี๋ยวตำแหน่งที่เราจะจิ้มเข็ม ค่อยคุยกันในตอนหน้าครับ จะพยายามรวบรวมให้ได้ทุกสัตว์ เลย แต่เรามารู้จักเข็ม กันก่อนครับว่ามันมีกี่แบบ แล้วไอ้ที่เป็นตัวเลขด้านหลังนั่น เราจะใช้ประโยชน์กับมันยังไงมาดูส่วนประกอบเข็มกันค้าบบ
เข็มฉีดยามีชนิดที่หัวเข็มทำด้วยเหล็กสเตนเลส หรือเข็มพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ส่วนประกอบของเข็ม
กระบอกฉีดยา มีอยู่3 ส่วน คือ
1. รอยบากปลายเข็ม (Bevel)
2. ตัวเข็ม (Shaft) คือส่วนที่ต่อจากตัวเข็ม
3. หัวเข็ม (Hub) ใช้สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยา
***
การฉีดยา ส่วนของเข็มฉีดยาที่ต้องรักษาไว้ปราศจากเชื้อ คือ บริเวณรอยบากปลายเข็มและตัวเข็มเพราะถ้าไปจับตรงตัวเข็ม มือเราไม่สะอาดมันจะพาเชื้อเข้าไปในตัวสัตว์ได้ครับ บางทีเป้น ฝีหนอง กันเลยทีเดียว
เข็มพลาสติกใช้กับไซริ้งค์พลาสติก
ทีนี้เรามาดูกันครับว่า เลขที่มีบอกอะไรเราได้บ้าง สาธุๆๆ ตรงๆๆ บนๆล่าง โต้ดด ...........
ถ้าดูในรูปจะเห็น เลข 18Gx1" และมีเลขในวงเล็บด้านล่าง(1.2x25mm)
18G คือขนาดเบอร์รูเข็ม
หากค่านี้มากรูจะยิ่งเล็ก หากค่านี้น้อยรูจะยิ่งใหญ่
1" คือขนาดความยาวตัวเข็ม หน่วยเป็นนิ้วครับ
หากเรายังสงสัยว่าแล้ว18G x1"นี้มันรูขนาดไหนยาวขนาดไหน เขาก็มีวงเล็บด้านล่างบอกครับ ว่ารูเนี่ยมันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง1.2มิลลิเมตร ยาว1นิ้วก็เท่ากับ25มิลลิเมตร
ซึ่งเข็มพลาสติกหรือเข็มแสตนเลสก็จะมีค่าให้เราดูกันครับ ไว้ให้เราเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือตำแหน่งที่จะเจาะ ทิ่ม แทง เข้าไป เอิ้กๆๆ ส่วนพวกเข็มสแตนเลสนั้น บางทีจะมีตัวเลข3/4 อะไรแนวนี้ให้งงว่าแล้วมันยาวเท่าไร ไม่ต้องงงครับ พระเอกให้ตัวช่วยมาล่ะ
หน่วยความยาวในงานอุตสาหกรรมในบ้านเรา นอกจาก หน่วย มิลลิเมตรแล้ว ก็ยังมีการใช้หน่วย นิ้ว บ้างเหมือนกัน
1 นิ้ว เท่ากับ 25.4 มิลลิเมตร
1 นิ้ว มี 8 หุน
เพราะฉะนั้น 1 หุน เท่ากับ 1/8 นิ้ว
2 หุน เท่ากับ 1/4 นิ้ว
4 หุน เท่ากับ 1/2 นิ้ว
6 หุน เท่ากับ 3/4 นิ้ว
3 หุน เท่ากับ 3/8 นิ้ว
ทีนี้เราก็จะรู้ความยาวล่ะครับ ส่วนการเลือกใช้ นั้นขึ้นกับตัวสัตว์เลยครับ ชนิด อายุ ยาที่ใช้ ตำแหน่งที่จะปล่อยยา
ยกตัวอย่างหากว่าเราจะฉีดยาวัวเข้ากล้ามใช้เข็มเบอร์23Gx1" ปักไปคาดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ หากว่าโคตั้วนั้นนิ่งก้ไม่มีปัญหา แต่หากวัวตัวนั้นเป็นพญาวัว ไม่เคยมีผู้ใดมากล้ำกรายเข้าใกล้ปักเข็มปึ้ง โดดคอกแตก เข็มเบอร์23ที่คาดว่าเข็มน้อยๆวัวน่ารักๆจะได้ไม่เจ็บ ทนแรงกำลังภายในวิชาอรหันต์ร่างทอง ของพญาโคไม่ได้ ก็หักเป๊าะฝังไปในกล้ามเนื้อวัวตัวนั้นประดุจดั่งฝังเหล็กไหล เพียงแต่นี่ไม่ไหล แล้วซ้ำร้ายต้องมานั่งหาทางเอาออกอีก แต่ปัญหาที่ผมโม้ให้ฟังจะไม่มีถ้าเราใช้เข็มเบอร์18Gx1"ดิ้นยังไง ก็ไม่หักคาคับยกเว้นว่าสุดๆจริงๆเต็มที่คือแค่งอ พออ่านถึงตรงนี้บางคนคิดว่าโอ้ววว...เข็มเบอร์18Gนี่แข็งแรงทนทานรูใหญ่ ปล่อยยาไว ไฉนเลยเราก็ควรเอาเบอร์นี้ล่ะไปฉีดยากับทุกสรรพสัตว์ ว่าแล้วก็เอาเข็มเบอร์18G ไปปักหน้าอกเป็ดที่ป่วยอยู่ ทุกคนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ ใช่ครับมันอาจจะฉีดได้แต่มันก็ทารุณสัตว์มากไป เราก็ควรใช้เบอร์23ไม่ดีกว่าเหรอ
ชนิดยาที่ใช้ก็มีผลครับ ยาที่ส่วนประกอบน้ำมันจะหนืดมากดังนั้นเวลาจะให้ยาต้อง-ขนาดเบอร์เข็มไปอีกสัก2-3เบอร์เลย เช่นฉีดยาทั่วๆไปในแพะแกะเราใช้เข็มเบอร์22-23 แต่พอจะฉีดยาถ่ายพยาธิที่หนืดๆเราก็ใช้เบอร์21 แนวๆนี้ครับ
สุดท้ายเข็มพวกนี้หากใช้บ่อยๆความคมจะหายครับ ตามภาพลองจินตนาการ เราใช้เข็มซ้ำๆแล้วเอามาแทงตัวเองแต่ไม่เข้า ฮ่าาาาาา