หลังจากที่พวกเราได้เรียนรู้ว่าวัวมีวงรอบการเป็นสัดได้ยังไง แล้วทีนี้จะมาดูว่าช่วงการเป็นสัด ช่วงไหนที่เหมาะที่สุดแก่การผสมเทียมและ สมัยนี้เขา มีการตรวจ จับสัดกันยังไงบ้าง หลายๆอย่างผมเองก็เพิ่งจะเคยเห็นเมื่อก่อนเรามักคิดว่าเอาตาดูไปนั่นแหละแต่สมัยนี้ เขาใช้เทคโนโลยีกันแว้วว ไม่ต้องดูวัวไปเดินกินข้าว ชอปปิ้ง ดู หนัง กลับมาเปิดมือถือดูเลยตัวไหนเป็นสัด เอ้อ เอากะเขาสิ
ก่อนอื่นมาเข้าดูอาการเป็นสัดของวัวก่อนนะครับ โดยอาการวัวที่เป็นสัดจะมีดังนี้
อาการของโคที่เป็นสัดที่เรามักจะเห็นกันคือ
ทางกายภาพ(ใช้ตาดูสำรวจที่ร่างกายวัว)
อวัยวะเพศบวมแดง เมือกใสไหลเยิ้ม เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่จะทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้ขยายตััว มีร่องรอยถลอกบริเวณบั้นท้าย เกิดจากโดนวัวตัวอื่นไล่ขี่
แล้วถ้าเรามาล้วงคลำจะพบว่า คอมดลูกมีการแข็งเกร็งตัว ปากมดลูกเปิดเล็กน้อย อันนี้ก็เป็นอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกเช่นกันครับ
ทางพฤติกรรม
กระวนกระวาย สนใจโคตัวอื่น ร้องบ่อย กินอาหารน้อยลง ตรงนี้มีความสำคัญนะครับเพราะมีการใช้พฤติกรรมตรงนี้มาใช้จับสัดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิคเรียกว่าPedometer ตอนท้ายๆจะเฉลยให้ดู
ช่วงต้นจะไล่ปีนโคตัวอื่น แต่ตอนท้ายจะยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่ ซึ่งระยะยืนนิ่งนี่ละครับ เราเรียกStanding Heat (ระยะยืนนิ่ง)เมื่อจับระยะนี้ได้แล้วให้นับไป12-18ชม.แล้วผสมจะดีที่สุดครับ สมัยก่อนเขาเรียกว่า นาทีทอง
โดยวัวจะมีลำดับขั้นตอนการเป็นสัดดังนี้ครับ
การเป็นสัดช่วงแรก(Primary Sign)
วัวที่เป็นสัดจะชอบยืนเอาคางไปเกยวัวตัวอื่น ทำท่าจะปีนวัวตัวอื่นเขา พร้อมกับเริ่มมีน้ำเมือกใสๆออกมา
การเป็นสัดช่วงสอง(Secondary Sign)
วัวที่เป็นสัดจะกระวนกระวายมากขึ้น ขี่ตัวอื่นมากขึ้น อวัยวะเพศบวม ด้านหลังกับช่วงสวาปจะมีรอยเลอะเพราะโดนตัวอื่นไล่ขี่
ซื่งช่วงเวลาที่เราต้องการคือระยะยืนนิ่งหรือStanding Heat นี่เองเพื่อนับชั่วโมงทำการผสมเทียม
cr.กรมปศุสัตว์
มีคลิปวีดีโอมาให้ดูด้วยครับเรื่องการจับสัด Sound track ต้อนรับ AEC
วิธีการจับสัดมีหลายแบบมากครับ เริ่มจากพื้นๆแบบที่ไม่ต้องใช้อะไรเลย แค่ตามองวัวกับปากกาจด ยันไปถึงตาไม่ต้องวัว ไปดูเอาในมือถือเอา อิอิ
1.การใช้หลักการบันทึกการเป็นสัด
-การจับสัดโดยการสังเกตุอาการ ด้วยคน ใช้ตามอง กับปากกาจด บันทึกข้อมูลว่าเป็นสัด วันไหน กี่โมง อาการเป็นยังไง โดยวิธีนี้ต้องสละเวลามาดูบ่อยๆครับเอาเป็นวันนึงต้องมาดู3ครั้ง ครั้งละ20นาที เพื่อสังเกตุอาการวัวในฝูง ถ้ามาดูน้อยก็ไม่เห็นอาการครับ วัวก็จะพลาดไปแล้วไปอีก 21 มันแปปเดียวครับ
-การใช้แผ่นดูรอบการเป็นสัด โดยเอาข้อมูลที่จดบันทึกมาดูว่ารอบที่แล้วเป็นวันไหนแล้วในแผ่นจะ+ไปอีก21วันทำให้เราจะคาดเดาได้ว่าวัวจะเป็นสัดอีกทีวันไหน ก็ให้สังเกตุเอา
-การบันทึกข้อมูลลงในคอมแล้วมีโปรแกรมช่วยบวกเพิ่มวันคำนวณว่าจะเป็นสัดรอบต่อไปเมื่อไหร่
-การจับสัดโดยการสังเกตุอาการ ด้วยคน ใช้ตามอง กับปากกาจด บันทึกข้อมูลว่าเป็นสัด วันไหน กี่โมง อาการเป็นยังไง โดยวิธีนี้ต้องสละเวลามาดูบ่อยๆครับเอาเป็นวันนึงต้องมาดู3ครั้ง ครั้งละ20นาที เพื่อสังเกตุอาการวัวในฝูง ถ้ามาดูน้อยก็ไม่เห็นอาการครับ วัวก็จะพลาดไปแล้วไปอีก 21 มันแปปเดียวครับ
-การใช้แผ่นดูรอบการเป็นสัด โดยเอาข้อมูลที่จดบันทึกมาดูว่ารอบที่แล้วเป็นวันไหนแล้วในแผ่นจะ+ไปอีก21วันทำให้เราจะคาดเดาได้ว่าวัวจะเป็นสัดอีกทีวันไหน ก็ให้สังเกตุเอา
-การบันทึกข้อมูลลงในคอมแล้วมีโปรแกรมช่วยบวกเพิ่มวันคำนวณว่าจะเป็นสัดรอบต่อไปเมื่อไหร่
2.การใช้หลักการตรวจจับการขึ้นขี่การเป็นสัด Mount Detection Aids
-การใช้แผ่นกามา(Karmar Pressure Sensitive Mount Detector)
โดยใช้หลักการว่าแปะแผ่นถุงบรรจุสีไว้ที่โคนหางวัว เวลาวัวเป็นสัดแล้ว โดนวัวตัวอื่นไล่ขี่ ถุงสีก็จะแตก ทำให้เราสังเกตุได้ชัดขึ้นครับ เหมาะกับคนที่มีเวลามานั่งจับสัดได้ไม่บ่อยแต่เขาก็มีการแนะนำวิธีการใช้ให้ได้ผลมากที่สุดดังนี้ครับ
-ขนาดของแผ่นกับตัววัวต้องเหมาะสมกันเช่นถ้าวัวตัวเล็กไปใช้ไซส์ใหญ่ มันขี่กันแทบตายถุงก็ไม่แตกครับ แล้วจะดูยังไง
-ต้องจดเลขตัววัวไว้ที่แผ่นด้วยนะครับเผื่อเวลามันทับกันตกหล่นอย่างน้อยก็ยังจำได้ว่าเป็นของวัวตัวไหน
-ต้องแปะบนขนที่แห้ง โดยไม่ต้องตัดขนออกนะครับ
-อย่าแปะไว้ลึกเข้าไปกลางตัวมากครับตามตำแหน่งในรูปข้างบนกำลังดี เพราะถ้าลึกมาก วัวคงไม่ขึ้นขี่กันถึงกลางตัวหรอกครับ
เขามีการวิจัยครับว่าใช้แล้วได้ผลเพิ่มเปอเซนการตั้งท้องยังไง
Detector status | % pregnant |
---|---|
Source: C. Marshall et al. (1978), Proceedings of the Extension-Industry Workshop on Beef Cattle Reproductive Management. | |
Fully activated | 67 |
Partially activated | 23 |
Missing | 51 |
อาจพบผลบวกลวงได้คือแผ่นถุงสีแตกเพราะวัวคันครับ!!!!!! หรืออุบัติเหตุต่างๆนาๆในคอกวัวจอมซน
-การใช้สีป้ายTailhead Marking
หลักการเดียวกับแผ่นกามาครับคือเมื่อวัวตัวไหนเป็นสัดก็จะโดนตัวอื่นขึ้นขี่สีก็จะเลอะไปทั้งหลัง เจ้าของสังเกตุเห็นก็นับชั่วโมงผสมเอา วิธีนี้เหมาะแก่คนที่มีวัวมากๆๆ แต่ต้องมานั่งป้ายสีกันทุก3-4วัน
-การใช้เครื่องElectronic Mount Detector หลักการคล้ายแผ่นกามาแต่ว่าไม่มีสีครับ แต่ใช้วงจรอิเล็กโทรนิกแปะที่ท้ายวัวตามรูป เพียงแต่วัวที่ถูกขึ้นจะมีการส่งสัญญาณไปที่เสาส่งแล้วถูกเก็บเข้าคอมพิวเตอร์ของเจ้าของ สามารถรู้ได้เลยว่าวัวถูกขึ้นขี่เมื่อไหร่ตัวไหนเป็นตัวขี่ เป็นวิธี่ที่ชัดเจนแม่นยำแต่ราคามาพร้อมกับคุณภาพครับ
-การใช้กล้องวงจรปิด อันนี้ดีครับแต่ มุมมอง ระยะ ต้องพอมองเห็นแยกได้ชัดเจนว่าวัวตัวไหนที่มีอาการเป็นสัดชัดเจนและต้องมีเวลามานั่งรีเพลย์ดูเทปทุกวัน
3.หลักการใช้สัตว์ตรวจจับการเป็นสัด วิธีการนี้ยังมีข้อดีข้อด้อยหลายอย่างครับ และยังขึ้นกับสภาวะสัตว์ที่จะนำมาช่วยในการจับสัดอีก ดังนัน้การเลือกใช้ขึ้นกับดุลยพินิจเจ้าของ โดยมีดังนี้ครับ
-การใช้ภาวะMale Effect คือเมื่อวัวตัวใดเป็นสัดก็ให้สังเกตุการทำพฤติกรรมคล้ายตัวผู้ที่คอยกระโดดไล่ขี่ตัวอื่น ซึ่งวิธีนี้ จะลำบากตรงที่เราต้องมาเจอพอดี หากวัวเข้าสู่ระยะยืนนิ่งก็จบกันครับ
-การใช้พ่อวัวที่ตัดท่อนำน้ำเชื้อหรือเบี่ยงลึงค์ สามารถช่วยจับสัดได้ดีครับ โดยพ่อวัวจะมีบอลสีติดใต้คางเวลไปทับตัวเมียตัวไหนก็จะมีสีป้ายแล้วเจ้าของก็สังเกตุว่าวัวตัวเมียตัวไหนมีสีเปรอะหลังบ้าง แต่ข้อเสียคือวัวที่ทำการตัดท่อน้ำเชื้อก็ยังมีโอกาสเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากการผสมพันธ์ในฝูงได้
ให้ดูที่ลึงค์พ่อวัวในรูปที่โดนเบี่ยงทิศทางโดยการผ่าตัดแล้วครับที่มาhttps://themaceplace.wordpress.com/2013/01/05/the-gomer-bull-is-retired-for-this-season/
โดยเจ้าเครื่องนี้จะอาศัยหลักการพฤติกรรมการเป็นสัดที่ว่าวัวที่เป็นสัดมักจะมีอาการกระวนกระวาย ชอบเดินไปมา ไม่ยอมนอน โดยเจ้าเครื่องนี้จะเก็บข้อมูลการเดิน กิจกรรมต่างๆของแม่วัว และส่งเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าเฉลี่ยว่าวัวตัวไหนเข้าข่ายจะเป็นสัด
ซึ่งในต่างประเทศ มีการใช้เครื่องPedometerกันพอสมควรครับ ซึ่งเสร็จแล้วพอได้ข้อมูลว่าวัวตัวไหนเข้าข่ายพฤติกรรมว่าจะเป็นสัด ก็จะมีการตรวจอีกครั้ง ทั้งเรื่องการเฝ้าสังเกตุและการใช้อุลตราซาวด์ตรวจว่ารังไข่มีสภาพพร้อมที่จะผสมหรือไม่
สุดท้าย การใช้เครื่องมือต่างๆ นั้นจะเหมาะสมกัยเราแบบไหนขึ้นกับว่าเรารู้จักวัวของเราและความชำนาญ สะดวกของเราเป็นยังไงมากกว่าครับ เพราะเครื่องมือก็คือเครื่องมือแต่ผู้ที่ตัดสินใจก็คือเจ้าของวัวอยู่ดีครับ