วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีการการจับสัดในโค มันมีมากมายหลายวิธีนะเอออ(พื้นฐานการได้ลูกวัวจากการผสมเทียม2)

   

Pedometerไว้ใช้จับสัดวัวครับ


    หลังจากที่พวกเราได้เรียนรู้ว่าวัวมีวงรอบการเป็นสัดได้ยังไง  แล้วทีนี้จะมาดูว่าช่วงการเป็นสัด ช่วงไหนที่เหมาะที่สุดแก่การผสมเทียมและ สมัยนี้เขา มีการตรวจ จับสัดกันยังไงบ้าง  หลายๆอย่างผมเองก็เพิ่งจะเคยเห็นเมื่อก่อนเรามักคิดว่าเอาตาดูไปนั่นแหละแต่สมัยนี้ เขาใช้เทคโนโลยีกันแว้วว  ไม่ต้องดูวัวไปเดินกินข้าว ชอปปิ้ง ดู หนัง กลับมาเปิดมือถือดูเลยตัวไหนเป็นสัด  เอ้อ เอากะเขาสิ
    ก่อนอื่นมาเข้าดูอาการเป็นสัดของวัวก่อนนะครับ  โดยอาการวัวที่เป็นสัดจะมีดังนี้
อาการของโคที่เป็นสัดที่เรามักจะเห็นกันคือ
ทางกายภาพ(ใช้ตาดูสำรวจที่ร่างกายวัว)
        อวัยวะเพศบวมแดง เมือกใสไหลเยิ้ม  เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่จะทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้ขยายตััว    มีร่องรอยถลอกบริเวณบั้นท้าย เกิดจากโดนวัวตัวอื่นไล่ขี่
         แล้วถ้าเรามาล้วงคลำจะพบว่า คอมดลูกมีการแข็งเกร็งตัว   ปากมดลูกเปิดเล็กน้อย  อันนี้ก็เป็นอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกเช่นกันครับ
ทางพฤติกรรม
         กระวนกระวาย สนใจโคตัวอื่น ร้องบ่อย กินอาหารน้อยลง  ตรงนี้มีความสำคัญนะครับเพราะมีการใช้พฤติกรรมตรงนี้มาใช้จับสัดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิคเรียกว่าPedometer ตอนท้ายๆจะเฉลยให้ดู
     ช่วงต้นจะไล่ปีนโคตัวอื่น  แต่ตอนท้ายจะยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่ ซึ่งระยะยืนนิ่งนี่ละครับ เราเรียกStanding Heat (ระยะยืนนิ่ง)เมื่อจับระยะนี้ได้แล้วให้นับไป12-18ชม.แล้วผสมจะดีที่สุดครับ สมัยก่อนเขาเรียกว่า นาทีทอง
โดยวัวจะมีลำดับขั้นตอนการเป็นสัดดังนี้ครับ
การเป็นสัดช่วงแรก(Primary Sign)   
วัวที่เป็นสัดจะชอบยืนเอาคางไปเกยวัวตัวอื่น ทำท่าจะปีนวัวตัวอื่นเขา พร้อมกับเริ่มมีน้ำเมือกใสๆออกมา  
การเป็นสัดช่วงสอง(Secondary Sign)   
วัวที่เป็นสัดจะกระวนกระวายมากขึ้น  ขี่ตัวอื่นมากขึ้น  อวัยวะเพศบวม  ด้านหลังกับช่วงสวาปจะมีรอยเลอะเพราะโดนตัวอื่นไล่ขี่  
  ซื่งช่วงเวลาที่เราต้องการคือระยะยืนนิ่งหรือStanding Heat นี่เองเพื่อนับชั่วโมงทำการผสมเทียม
cr.กรมปศุสัตว์
       มีคลิปวีดีโอมาให้ดูด้วยครับเรื่องการจับสัด Sound track ต้อนรับ AEC

วิธีการจับสัดมีหลายแบบมากครับ  เริ่มจากพื้นๆแบบที่ไม่ต้องใช้อะไรเลย แค่ตามองวัวกับปากกาจด ยันไปถึงตาไม่ต้องวัว ไปดูเอาในมือถือเอา  อิอิ
1.การใช้หลักการบันทึกการเป็นสัด
-การจับสัดโดยการสังเกตุอาการ ด้วยคน  ใช้ตามอง กับปากกาจด บันทึกข้อมูลว่าเป็นสัด วันไหน กี่โมง  อาการเป็นยังไง  โดยวิธีนี้ต้องสละเวลามาดูบ่อยๆครับเอาเป็นวันนึงต้องมาดู3ครั้ง ครั้งละ20นาที เพื่อสังเกตุอาการวัวในฝูง  ถ้ามาดูน้อยก็ไม่เห็นอาการครับ วัวก็จะพลาดไปแล้วไปอีก 21 มันแปปเดียวครับ
-การใช้แผ่นดูรอบการเป็นสัด  โดยเอาข้อมูลที่จดบันทึกมาดูว่ารอบที่แล้วเป็นวันไหนแล้วในแผ่นจะ+ไปอีก21วันทำให้เราจะคาดเดาได้ว่าวัวจะเป็นสัดอีกทีวันไหน ก็ให้สังเกตุเอา
-การบันทึกข้อมูลลงในคอมแล้วมีโปรแกรมช่วยบวกเพิ่มวันคำนวณว่าจะเป็นสัดรอบต่อไปเมื่อไหร่


2.การใช้หลักการตรวจจับการขึ้นขี่การเป็นสัด Mount Detection Aids
-การใช้แผ่นกามา(Karmar Pressure Sensitive Mount Detector)

โดยใช้หลักการว่าแปะแผ่นถุงบรรจุสีไว้ที่โคนหางวัว  เวลาวัวเป็นสัดแล้ว โดนวัวตัวอื่นไล่ขี่ ถุงสีก็จะแตก ทำให้เราสังเกตุได้ชัดขึ้นครับ  เหมาะกับคนที่มีเวลามานั่งจับสัดได้ไม่บ่อยแต่เขาก็มีการแนะนำวิธีการใช้ให้ได้ผลมากที่สุดดังนี้ครับ  
                 -ขนาดของแผ่นกับตัววัวต้องเหมาะสมกันเช่นถ้าวัวตัวเล็กไปใช้ไซส์ใหญ่ มันขี่กันแทบตายถุงก็ไม่แตกครับ แล้วจะดูยังไง
                 -ต้องจดเลขตัววัวไว้ที่แผ่นด้วยนะครับเผื่อเวลามันทับกันตกหล่นอย่างน้อยก็ยังจำได้ว่าเป็นของวัวตัวไหน
                 -ต้องแปะบนขนที่แห้ง โดยไม่ต้องตัดขนออกนะครับ
                 -อย่าแปะไว้ลึกเข้าไปกลางตัวมากครับตามตำแหน่งในรูปข้างบนกำลังดี  เพราะถ้าลึกมาก วัวคงไม่ขึ้นขี่กันถึงกลางตัวหรอกครับ 
   เขามีการวิจัยครับว่าใช้แล้วได้ผลเพิ่มเปอเซนการตั้งท้องยังไง
Detector status% pregnant
Source: C. Marshall et al. (1978), Proceedings of the Extension-Industry Workshop on Beef Cattle Reproductive Management.
Fully activated67
Partially activated23
Missing51
อันแรกคือแผ่นแตกชัวๆเห็นชัดเปอเซนตั้งท้อง67   อันที่สองคือไม่แน่ใจ 23   อันที่สามคือแผ่นหลุด  51

อาจพบผลบวกลวงได้คือแผ่นถุงสีแตกเพราะวัวคันครับ!!!!!!  หรืออุบัติเหตุต่างๆนาๆในคอกวัวจอมซน




-การใช้สีป้ายTailhead Marking
หลักการเดียวกับแผ่นกามาครับคือเมื่อวัวตัวไหนเป็นสัดก็จะโดนตัวอื่นขึ้นขี่สีก็จะเลอะไปทั้งหลัง เจ้าของสังเกตุเห็นก็นับชั่วโมงผสมเอา    วิธีนี้เหมาะแก่คนที่มีวัวมากๆๆ แต่ต้องมานั่งป้ายสีกันทุก3-4วัน  




-การใช้เครื่องElectronic Mount Detector หลักการคล้ายแผ่นกามาแต่ว่าไม่มีสีครับ แต่ใช้วงจรอิเล็กโทรนิกแปะที่ท้ายวัวตามรูป เพียงแต่วัวที่ถูกขึ้นจะมีการส่งสัญญาณไปที่เสาส่งแล้วถูกเก็บเข้าคอมพิวเตอร์ของเจ้าของ สามารถรู้ได้เลยว่าวัวถูกขึ้นขี่เมื่อไหร่ตัวไหนเป็นตัวขี่  เป็นวิธี่ที่ชัดเจนแม่นยำแต่ราคามาพร้อมกับคุณภาพครับ



-การใช้กล้องวงจรปิด  อันนี้ดีครับแต่  มุมมอง  ระยะ ต้องพอมองเห็นแยกได้ชัดเจนว่าวัวตัวไหนที่มีอาการเป็นสัดชัดเจนและต้องมีเวลามานั่งรีเพลย์ดูเทปทุกวัน




3.หลักการใช้สัตว์ตรวจจับการเป็นสัด   วิธีการนี้ยังมีข้อดีข้อด้อยหลายอย่างครับ และยังขึ้นกับสภาวะสัตว์ที่จะนำมาช่วยในการจับสัดอีก  ดังนัน้การเลือกใช้ขึ้นกับดุลยพินิจเจ้าของ  โดยมีดังนี้ครับ
  
        -การใช้ภาวะMale Effect  คือเมื่อวัวตัวใดเป็นสัดก็ให้สังเกตุการทำพฤติกรรมคล้ายตัวผู้ที่คอยกระโดดไล่ขี่ตัวอื่น ซึ่งวิธีนี้ จะลำบากตรงที่เราต้องมาเจอพอดี หากวัวเข้าสู่ระยะยืนนิ่งก็จบกันครับ
       


-การใช้พ่อวัวที่ตัดท่อนำน้ำเชื้อหรือเบี่ยงลึงค์   สามารถช่วยจับสัดได้ดีครับ โดยพ่อวัวจะมีบอลสีติดใต้คางเวลไปทับตัวเมียตัวไหนก็จะมีสีป้ายแล้วเจ้าของก็สังเกตุว่าวัวตัวเมียตัวไหนมีสีเปรอะหลังบ้าง  แต่ข้อเสียคือวัวที่ทำการตัดท่อน้ำเชื้อก็ยังมีโอกาสเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากการผสมพันธ์ในฝูงได้
ให้ดูที่ลึงค์พ่อวัวในรูปที่โดนเบี่ยงทิศทางโดยการผ่าตัดแล้วครับที่มาhttps://themaceplace.wordpress.com/2013/01/05/the-gomer-bull-is-retired-for-this-season/

Chin Ball




สุดท้ายพระเอกของเรื่องครับ คือการใช้ Pedometer

โดยเจ้าเครื่องนี้จะอาศัยหลักการพฤติกรรมการเป็นสัดที่ว่าวัวที่เป็นสัดมักจะมีอาการกระวนกระวาย ชอบเดินไปมา ไม่ยอมนอน  โดยเจ้าเครื่องนี้จะเก็บข้อมูลการเดิน กิจกรรมต่างๆของแม่วัว  และส่งเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าเฉลี่ยว่าวัวตัวไหนเข้าข่ายจะเป็นสัด  
 ซึ่งในต่างประเทศ มีการใช้เครื่องPedometerกันพอสมควรครับ   ซึ่งเสร็จแล้วพอได้ข้อมูลว่าวัวตัวไหนเข้าข่ายพฤติกรรมว่าจะเป็นสัด  ก็จะมีการตรวจอีกครั้ง ทั้งเรื่องการเฝ้าสังเกตุและการใช้อุลตราซาวด์ตรวจว่ารังไข่มีสภาพพร้อมที่จะผสมหรือไม่
      

   สุดท้าย   การใช้เครื่องมือต่างๆ นั้นจะเหมาะสมกัยเราแบบไหนขึ้นกับว่าเรารู้จักวัวของเราและความชำนาญ สะดวกของเราเป็นยังไงมากกว่าครับ  เพราะเครื่องมือก็คือเครื่องมือแต่ผู้ที่ตัดสินใจก็คือเจ้าของวัวอยู่ดีครับ

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วงรอบๆๆๆ การเป็นสัดในวัว (พื้นฐานการได้ลูกวัว จากการผสมเทียม1)

   
cr.altagenetic.com
    

 การเป็นสัดในโค คือการที่แม่วัวเราพร้อมรับการผสมจากตัวผู้และก็มีพฤติกรรมต่างๆที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเช่นมีอาการกระวนกระวาย อวัยวะเพศบวม  มีน้ำเมือกไหล ไล่ขี่ตัวอื่น และ เรามักได้ยินว่าเฉลี่ยที่21วัน แต่ในความเป็นจริง สามารถเป็นได้19-24วันได้เลยครับ  แต่การที่จะเป็น19วัน หรือ24วันครั้งนั้นไม่ใช่ปัญหาแต่ ปัญหาคือการเป็นสัดแต่ละครั้งนั้นตรงรอบไหม  รอบแกว่งหรือเปล่า  คือถ้าเป็น19วันก็ควรเป็นสัดทุ19วันตลอดไม่ใช่รอยนี้เป็นสัด19วันถัดมา24วันเป็นสัด แล้วกลับมาเป็นอีก20วัน อะไรแนวนี้  ครับ   ถ้ารอบแกว่งนี่แสดว่าการทำงานของรังไข่ผิดปกติครับ  นอกจากรังไข่ทำงานไม่สมบรูณ์แล้ว ยังทำให้การจับสัดยากไปอีกด้วยครับ  ทีนี้ก็ไม่รู้ว่าจะผสมเทียมกันยังไงเลย   วัวตัวเมียที่เราเห็นๆกันนั้นมีระยะเจริญพันธ์ได้ตั้งแต่อายุ7-18เดือนกันเลยทีเดียวครับ(วัยสาวสะพรั่ง อิอิ)   ดังนั้นก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนครับว่าวัวเป็นสัดได้ยังไง มาเข้าวิชาการกันนิดๆครับ
โดยมีท่านผู้รู้ได้ทำตารางแสดงวงรอบการเป็นสัดในสัตว์แต่ละชนิดให้เราดูดังนี้ครับ



        ดังนั้นถ้าดูจากตารางโดยปกติวัวจะมีวงรอบการเป็นสัดเฉลี่ย 20-21 วัน (19-23 วัน) วัวพันธุ์เมืองร้อน (Bos indicus) แสดงการเป็นสัดสั้นโดยเฉลี่ยแสดงอาการเป็นสัด ประมาณ 11 ชั่วโมง และสัดเริ่มแสดงอาการในช่วงเย็นของวัน หลักจากแสดงอาการเป็นสัดแล้วจะเกิดการตกไข่ (Ovulation) โดยประมาณ 25-26 ชั่วโมง ส่วนโคพันธุ์เมืองหนาว (Bos taurus) จะแสดงอาการเป็นสัดที่นานกว่าประมาณ 18 ชั่วโมง และเกิดการตกไข่ประมาณ 28-31 ชั่วโมงหลังการเป็นสัด  ซึ่งที่เป็นแบบนี้เกิดจากช่วงแสงของวันครับที่ต่างกันในแต่ละที่
         วงรอบการเป็นสัดแบ่งเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงอวัยวะสืบพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ที่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งระยะทั้ง 4 คือ

              1. ระยะก่อนการเป็นสัด (Pro-oesturs)    คือวันที่ 17-20 หลังการเป็นสัด เป็นระยะที่โคเข้าสู่การเป็นสัดรอบใหม่ ระบบสืบพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลง ฟอลลิเคิล (follicle) เจริญอย่างรวดเร็ว คอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum) จากการเป็นสัดในรอบที่แล้ว ฝ่ออย่างรวดเร็ว มดลูกมีการเปลี่ยนแปลง มีเลือดเลี้ยงมาก ต่อมสร้างสารคัดหลั่งเจริญขยายตัวในส่วนคอมดลูก (cervix) และช่องคลอด (vagina) โดยช่องคลอดจะบวมแดงมีเมือกใสเหนียวไหลจากช่องคลอดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน
              2. ระยะเป็นสัด (Oesturs) คือ สันที่ 0 ของการเป็นสัด เป็นระยะที่ ฟอลลิเคิลขนาดใหญ่ (dominant follicle) มีการเจริญเติบโตเต็มที่ และเกิดการตกไข่ตามมา (ovulation) โคจะแสดงการเป็นสัดโดยเฉลี่ยประมาณ 4-24 ชั่วโมง และ โคจะแสดงการยอมรับการผสม และยืนนิ่งเมื่อมีตัวอื่นปีน (standing heat)
              ระยะการเป็นสัด โคจะแสดงอาการต่าง ๆ เช่น กระวนกระวาย ถ้าเป็นวัวระยะให้นมจะมีการสร้างน้ำนมลดลง การยืนนิ่งยอมเป็นปีนของตัวอื่น พบเมือกหรือสารคัดหลั่งจากมดลูก คอมดลูก และช่องคลอดมีมากที่สุด เยื่อเมือกของปากช่องคลอดจะแดงมีเลือดคลั่ง
              ในระยะนี้ ระดับฮอร์โมน แอลเอช LH (Luteinzing Hormone) จะเพิ่มขึ้นสูงมากก่อนที่จะตกไข่ ตามมาหลังจากที่แสดงอาการเป็นสัด ประมาณ 30 ชั่วโมง
              การผสมเทียม (AI) ระยะที่เหมาะสมคือ 12-18 ชั่วโมง หลักการยืนนั่ง (standing heat)
              3. ระยะหลังการเป็นสัด (Metoesturs)   คือวันที่ 2-4 ของการเป็นสัด ในระยะนี้โคจะหยุดแสดงอาการเป็นสัด และรังไข่มีการสร้าง คอร์ปัสลูเตียม (Corpus luteum) และเริ่มมีการแสดงฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน
              ในบางครั้งอาจจะพบว่าเลือดออกมาจากช่องคลอด (Metoestrus bleeding) ได้ในระยะนี้ ปกติพบประมาณ 90% และไม่เกิน 45% ในแม่วัว ซึ่งเป็นลักษณะเมือกปนเลือดพบติดตามหลังหรือบริเวณช่องคลอดด้านนอก
              การพบเลือดจากช่องคลอด ไม่ได้บ่งบอกว่าการผสมพันธุ์ ที่เกิดขึ้นนั้ จะทำให้ผสมติดหรือผสมไม่ติด



              4. ระยะไม่เป็นสัดในวงรอบ (Dioesturs)   คือ วันที่ 5-17 หลังจกาการเป็นสัด เป็นระยะที่ ระยะที่มีคอร์ปัสลูเทียม (CL) เจริญเติบโตเต็มที่มดลูกพร้อมรับการตั้งท้อง มีระดับโปรเจสเตอโรน (progesterone) สูง คอมดลูกปิดมีเมือกเหนียวปิดอยู่ เยื่อเมือกช่องคลอดค่อนข้างซีด
              ในช่วงท้ายของระยะนี้ถ้าโคไม่มีการตั้งท้อง ก็จะมีการสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) จากมดลูก (Uterus) มาสลายคอร์ปัสลูเทียม (CL) หลังจากนั้นก็จะมีการเริ่มขบวนการเป็นสัด (Estrous cycle) ในรอบใหม่ 
     อันนี้กลัวคนอื่นจะงงผมเลยเอาภาพมาให้ดูการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ในระยะเวลาช่วงเวลาต่างๆ โดยมีหลายๆภาพให้นะครับเพราะบางคนดูภาพนี้แล้วไม่เข้าใจไปดูอีกภาพถึงจะเข้าใจ แต่ทุกภาพคืออธิบายแบบเดียวกัน
**CR.Genex Cooperative Inc.

เพื่อความจุใจเรามีคลิปวีดีโอมาให้ดูด้วยครับ
1.คลิปของกรมปศุสัตว์ครับ นานมากแล้วคลิปนี้ภาพพอได้ครับ  เนื้อหาใช้ได้ดีเหมือนเดิม  เวลา24นาที ภาษาไทยครับเหมาะกับผู้ที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง


2.คลิปแสดงการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ตามระยะวันตามวงรอบ จากpursleylab MSU  อังกฤษล้วนๆครับ  แต่ภาพสวย


 3.คลิปแสดงสรีระวิทยา Physiology ของรังไข่ตามวงรอบการเป็นสัดอธิบายการทำงานของฮอรโมนช่วงต่างๆภาพสวยงาม แต่ภาษาอังกฤษล้วนๆ  หากดูแต่ภาพได้ก็คุ้มครับ คลิปจาก Parnell Veterinary Pharmaceuticals




พยายามจำวงรอบกับช่วงต่างๆให้ได้ครับเพราะจะมีความจำเป็นกับการผสมเทียมมาก


ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูล
Cr.อ.ดร.สรรเพชญ โสภณ