วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

วัวเศร้า น้ำตาไหล.....(วัวดราม่า)

  มีความผิดปกติของวัวจะมาเล่่าสู่กันฟังครับ  ยกตัวอย่างวัวตัวนี้มีอาการน้ำตาไหลมาเป็นปีล่ะ แต่4-5วันมานี้อาการหนัก  ตาปิดมองไม่เห็นตาวัว ดังคำที่ว่าความรักทำให้วัวตาบอด(เอิ่ม โทษทีครับ)
การที่มีน้ำตาไหลมีสาเหตุจาก การระคายเคือง การอักเสบ และขนตาย้อนกลับ การอักเสบของตานั้นมีมีหลายส่วนครับ  จะที่เปลือกตา ตาขาว ตาดำ แผลที่กระจกตา
CR.Biologycorner.com

โดยส่วนมากในวัว น้ำตาไหลมักจะมาจากแมลงครับ  คือแมลงเยอะตอมตาตาระคายเคืองรำคาญเอาตาถูคอกกับราวเหล็กเลย  เด็ดสุดคือเชื้อนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียครับเรียก มอเร็กเซลล่า(Moraxella bovis.)  โรคนี้มีอีกชื่อว่าโรคPinkeye หรือ IBK (infectious Bovine Keratoconjunctivitis)  
cr.http://www2.ca.uky.edu/grazer/June12_Pink_Eye.php

ความรุนแรงก็ตามนี้ครับ

ในต่างประเทศเขามีวัคซีนครับ  บ้านเราไม่มีดังนั้นต้องรักษาตามอาการ ตามนี้ครับ
1.ล้างตาด้วยน้ำกลั่นล้างแผล(Irrigated sterilize Water)ขายตามร้านขายยาทั่วไปบางคนจะใช้น้ำเกลือล้างแผลก็พอได้ครับ แต่วัวเขาจะแสบตามากกๆๆๆ ลองคิดถึงเราเอาน้ำมีเกลือพ่นเข้าตาเราเอง
2.ใส่ยาหยอดปฎิชีวนะ มีทั้งแบบขี้ผึ้งหรือเป็นยาน้ำ
         ขี้ผึ้งโคจีติน   ตัวยาคลอแรมเฟนิคอล
       
       ขี้ผึ้งเทอร่ามัยซิน  ตัวยาเตตราไซคลิน



ข้อดียาขี้ผึ้งคือใส่ไปยาจะติดกับที่ลูกตานานครับ   แต่ข้อเสียคืออากาศจะผ่านได้น้อยไม่เหมาะกับพวกมีแผลที่กระจกตาแล้ว  ดังนั้นหากมีแผลหลุมขาวๆที่กระจกตาเรามักไปใช้ยาหยอดตาที่เป็นน้ำกันครับ
       
       ยาหยดตาโพลีออพ
   ยาหยดตาเจนต้าออฟ


ทำทุกวันครับ  ล้างเช้า กลางวัน เย็นได้ก็ดี  แต่ถ้าไม่ว่างเช้าเย็น ก็พอไหว 
3.ฉีดยาOxytetracycline L.A. ขนาด1ซีซี.ต่อน้ำหนักตัวสัตว์10กก.
4.อาจให้ยาจำพวกคลอเฟนิลามีนลดอาการแพ้ได้นะครับ และจะช่วยลดอาการคันได้ด้วย 
5.มียาหยอดตาจำพวกเด็กออฟต้องระวังในการใช้ครับเพราะยาพวกนี้เป็นสเตียรอยด์หากเรามีอาการบวมแพ้ยาตัวนี้ดีครับแต่หากมีการติดเชื้อมีหนอง มีแผลหลุมห้ามใช้ครับ ไม่งั้นเละ เตือนด้วยความหวังดี


ส่วนวิธีลด ป้องกันปัญหา นี้ได้คือกำจัดลดแมลงลงให้มากที่สุดที่จะมากได้
มีคลิปด้วยครับจากNoble Foundation










วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

การฉีดยาในสัตว์และตำแหน่งจิ้มเข็ม(วัว1)

 








จากที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับการเลือกไซริ้งค์และเข็มเรียบร้อยแล้วทีนี้เรามาดูการที่เราจะฉีดยาในสัตว์ กันบ้างครับว่าจะแทงเข็มตรงไหนได้บ้าง ซึ่งขึ้นกับชนิดยาว่าต้องให้เข้าใต้ผิวหนัง  กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเลือด โดยขอเริ่มจากในโคก่อนนะครับ  ตำแหน่งที่แทงเข็มจะแบ่งเป็นสีๆดังนี้คับ

จุดสีน้ำเงินคือจุดที่เราจะให้ยาเข้าใต้ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ ตรงจุดนี้คือกล้ามเนื้อคอครับ  
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง

จุดสีม่วงคือจุดที่ที่เราจะให้ยาเข้าเส้นเลือดครับจะมีเส้นเลือดที่คอ ใบหู เต้านม  โคนหาง
จุดสีเหลืองคือจุดที่เราสามารถให้ยาเข้ากล้ามเนื้อได้  คือบริเวณสะโพก กล้ามเนื้อขาหลัง  แต่ในวัวเนื้อมักจะหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับซากสัตว์หลังเข้าสู่การบ่มซากครับเพราะอาจเกิดเนื้อตายได้
จุดสีแดงคือจุดที่ควรหลีกเลี่ยงการแทงเข็มครับ โดยด้านบนจะติดกับแนวกระดูกสันหลัง  ด้านล่างชิดกับเส้นเลือดเกินไปครับ หากเป็นยาที่สามารถให้เข้าเส้นเลือดได้ก็ไม่เป็นไร แต่หากปักแม่นเอายาฉีดเข้ากล้ามไปเข้าเส้นเลือดเผลอๆงานเข้าครับ

      ในต่างประเทศวัวเนื้อเขาจะฉีดยาแค่ตรงคอครับ จะไม่ฉีดเข้าสะโพกด้านหลังเลย พูดไปเดี๋ยวหาว่าผมไปมั่วเอามาจากไหนดูนี่ล่ะกันครับ



หรือจะตามไปที่ลิ้งค์นี่ได้ครับ https://farmthestart.wordpress.com/tag/herd-health/
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเขากังวลเรื่องยาปฎิชีวนะที่ตกค้างในเนื้อบริเวณที่ทำการฉีดยาครับ เพราะในปัจจุบันเรามักพบ โรคแบคทีเรียที่ดื้อยาปฎิชีวนะหลายๆตัวแล้วและ สืบพบว่าเกิดจากการกินเนื้อสัตว์ที่หยุดยาไม่ถูกวิธี

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

ร้อนมาก.....ขอเป็นลม(แดด)แปป++++!!!!!

       โอ้วววว.....ว....ว....ช่วงนี้อากาศร้อนมากกกๆๆครับ  ไม่ว่าจะสัตว์จะคนนี่ก้อาการย่ำแย่กันเป็นแถว ขนาดคนยังมีตายกันแล้วเลยครับ นับอะไรกะสัตว์ที่พูดไม่ได้ว่าร้อนขนาดไหนแล้ว หนีไปหาห้องแอร์ก็ไม่ได้  แต่ยังดีครับที่เรายังสังเกตุอาการได้   ว่ามีภาวะความผิดปกติต่างๆ  ผมจะเอาวีดีโอมาให้ดูครับว่าเวลาเขาหอบจะเป็นยังไง
ในวัว



อาการของทุกสัตว์เลยก็มักมีอาการแบบนี้นะครับ
-หอบ
-น้ำลายไหล
-เหงือกเป็นสีแดงถ้าขาวนี่คือใกล้ช็อคล่ะ
-หัวใจเต้นเร็ว
-อาการอาเจียนไม่ค่อยพบในวัวนะครับ แต่ในหมาแมวมักเป็นกัน
-หากเป็นหนักมากๆจะเดินขาอ่อนแรง ไม่สัมพันธ์กัน
-ท้องเสีย
-ชัก
   
 อากาศที่ร้อนจัดอยู่แล้วหากเจอความร้อนที่เกิดจากอาหารที่กินเข้าไปโดยเฉพาะพวกแป้ง ไขมัน จะยิ่งทำให้เกิดความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้นครับ  ซึ่งปัญหานี้มักพบในสัตว์ที่ใช้กระเพาะหมัก  แต่เขาจะแก้โดยการให้อาหารจำพวกอาหารหยาบเพิ่มแทนและ  เปลี่ยนเวลาให้อาหารข้นในช่วงเย็นๆหรือเช้ามืดที่แดดไม่แรงครับ
     แต่หากดูจากพฤติกรรมก็สังเกตุได้ครับคือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเขาก็จะหาที่เย็นๆเช่นใกล้น้ำโดยไปยืนใกล้ๆ  หรือก็ลงไปเลย




การลดอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือการให้น้ำอย่างเพียงพอ  มีร่มเงาให้สัตว์หลบ  เปิดพัดลมช่วยระบายอากาศเพราะเมื่อลมพัดผ่านผิวหนังก็จะพาเอาความร้อนออกไปได้บ้างคับ แต่เนื่องจากสัตว์เกือบทุกชนิดไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนังยกเว้นม้ากะฮิปโปที่มีเหงื่อออกระบายความร้อนได้      ทำให้การระบายความร้อนจากร่างกายจึงมักพึ่งทางลมหายใจกับการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังกับสภาพแวดล้อมมากกว่า ดังนั้นหากจะทำอะไรกับตัวสัตวืในช่วงที่อากาศร้อน จะไปจับ บังคับ หลีกเลี่ยงการมัดปาก หรือครอบปากนะครับ เพราะถ้าเขาระบายความร้อนไม่ทัน หายใจไม่ทันอาจเกิดภาวะช็อคได้ ทีนี้หากเราเจอสัตว์ที่อาการแบบว่าไม่ไหวแล้วเอาพัดลมเป่า ก็แล้ว พาไปยืนใต้ร่มไม้ก็แล้วยังหอบอยู่ที่นี้เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นไปเลยครับ  ซึ่งตรงนี้มีหลายสูตรมาก บางคนบอกกลัวช็อคเพราะใช้น้ำเย็นจัดเส้นเลือดที่ผิวหนังจะหดตัวการระบายความร้อนจะยิ่งแย่ลง  บางคนบอกไม่ทันล่ะยังไงต้องรีบลดอุณหภูมิให้เร็วที่สุดก็ต้องทำล่ะ    อันนี้นานาจิตตังครับ ถึงหน้างานเราจะรู้เองว่าควรทำอะไร  อย่าลืมเป่าพัดลมด้วยครับ  เพื่อให้มีการหมุนเวียนอากาศ  แต่การระบายความร้อนก็สัมพันธ์กับความชื้นในอากาศด้วยครับโดยเฉพาะกับสัตว์  สังเกตุได้ว่าหากอากาศที่ฝนตกหลังแดดออกแปปเดียว จะร้อนมาก  เนื่องจากความชื้นในอากาศสูงทำให้การระบายความร้อนที่อาศัยน้ำที่ออกมากับลมหายใจช่วยพาความร้อนออกนั้นจะไม่ค่อยดี ซึ่งการลดควาชื้นในอากาศต้องเพิ่มการหมุนเวียนของอากาศ(increase ventilation)ครับ



บางทีก็อาจจะต้องมีการให้น้ำเกลือช่วยด้วยครับเพื่อรักษาแรงดันเลือดกันช็อค  ไตวาย  หรือช่วยลดอุณหภูมิได้อีกทางนึง  


วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรื่องการฉีดยาสัตว์ ระดับอนุบาล2(จะเลือกใช้เข็มฉีดยายังไงดีน้าาา)

    การฉีดยาเราจะมีแต่ไซริ้งค์(กระบอกฉีดยา)อย่างเดียวไม่ได้นะค้าบบบ  ต้องมีเข็มด้วย  เอาไว้ทิ่มแทง แทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจ (อันนี้ไม่ใช่)   เอาไว้ทิ่มผ่านผิวหนังแล้วจะปล่อยยาตรงตำแหน่งไหนขึ้นกับชนิดยาครับ  โดยมีช่องทางการทิ่มแทงให้ยาหลักๆ ดังนี้
-ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง(Subcutaneous  Injection)  
-ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(Intramuscular Injection)
-ฉีดเข้าเส้นเลือด(Intravenous  Injection)

     เดี๋ยวตำแหน่งที่เราจะจิ้มเข็ม  ค่อยคุยกันในตอนหน้าครับ  จะพยายามรวบรวมให้ได้ทุกสัตว์ เลย  แต่เรามารู้จักเข็ม  กันก่อนครับว่ามันมีกี่แบบ แล้วไอ้ที่เป็นตัวเลขด้านหลังนั่น เราจะใช้ประโยชน์กับมันยังไงมาดูส่วนประกอบเข็มกันค้าบบ
เข็มฉีดยามีชนิดที่หัวเข็มทำด้วยเหล็กสเตนเลส หรือเข็มพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ส่วนประกอบของเข็ม กระบอกฉีดยา มีอยู่3 ส่วน คือ
1. รอยบากปลายเข็ม (Bevel)
2. ตัวเข็ม (Shaft) คือส่วนที่ต่อจากตัวเข็ม
 3. หัวเข็ม (Hub) ใช้สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยา
*** การฉีดยา ส่วนของเข็มฉีดยาที่ต้องรักษาไว้ปราศจากเชื้อ คือ บริเวณรอยบากปลายเข็มและตัวเข็มเพราะถ้าไปจับตรงตัวเข็ม มือเราไม่สะอาดมันจะพาเชื้อเข้าไปในตัวสัตว์ได้ครับ บางทีเป้น ฝีหนอง  กันเลยทีเดียว
เข็มพลาสติกใช้กับไซริ้งค์พลาสติก

  
ทีนี้เรามาดูกันครับว่า เลขที่มีบอกอะไรเราได้บ้าง  สาธุๆๆ  ตรงๆๆ บนๆล่าง โต้ดด  ...........





ถ้าดูในรูปจะเห็น  เลข   18Gx1" และมีเลขในวงเล็บด้านล่าง(1.2x25mm)
18G คือขนาดเบอร์รูเข็ม หากค่านี้มากรูจะยิ่งเล็ก   หากค่านี้น้อยรูจะยิ่งใหญ่ 
1"     คือขนาดความยาวตัวเข็ม หน่วยเป็นนิ้วครับ

       หากเรายังสงสัยว่าแล้ว18G x1"นี้มันรูขนาดไหนยาวขนาดไหน เขาก็มีวงเล็บด้านล่างบอกครับ  ว่ารูเนี่ยมันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง1.2มิลลิเมตร   ยาว1นิ้วก็เท่ากับ25มิลลิเมตร
       ซึ่งเข็มพลาสติกหรือเข็มแสตนเลสก็จะมีค่าให้เราดูกันครับ ไว้ให้เราเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน  หรือตำแหน่งที่จะเจาะ  ทิ่ม แทง  เข้าไป เอิ้กๆๆ     ส่วนพวกเข็มสแตนเลสนั้น บางทีจะมีตัวเลข3/4 อะไรแนวนี้ให้งงว่าแล้วมันยาวเท่าไร ไม่ต้องงงครับ พระเอกให้ตัวช่วยมาล่ะ
หน่วยความยาวในงานอุตสาหกรรมในบ้านเรา นอกจาก หน่วย มิลลิเมตรแล้ว ก็ยังมีการใช้หน่วย นิ้ว บ้างเหมือนกัน
        1              นิ้ว                          เท่ากับ                    25.4        มิลลิเมตร
 1              นิ้ว                          มี                              8              หุน
เพราะฉะนั้น        1              หุน                         เท่ากับ                    1/8          นิ้ว
2              หุน                         เท่ากับ                    1/4          นิ้ว
4              หุน                         เท่ากับ                    1/2          นิ้ว
6              หุน                         เท่ากับ                    3/4          นิ้ว
                                                   3              หุน                         เท่ากับ                    3/8          นิ้ว

ทีนี้เราก็จะรู้ความยาวล่ะครับ  ส่วนการเลือกใช้ นั้นขึ้นกับตัวสัตว์เลยครับ  ชนิด อายุ  ยาที่ใช้  ตำแหน่งที่จะปล่อยยา
     ยกตัวอย่างหากว่าเราจะฉีดยาวัวเข้ากล้ามใช้เข็มเบอร์23Gx1" ปักไปคาดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ  หากว่าโคตั้วนั้นนิ่งก้ไม่มีปัญหา แต่หากวัวตัวนั้นเป็นพญาวัว ไม่เคยมีผู้ใดมากล้ำกรายเข้าใกล้ปักเข็มปึ้ง  โดดคอกแตก เข็มเบอร์23ที่คาดว่าเข็มน้อยๆวัวน่ารักๆจะได้ไม่เจ็บ ทนแรงกำลังภายในวิชาอรหันต์ร่างทอง ของพญาโคไม่ได้  ก็หักเป๊าะฝังไปในกล้ามเนื้อวัวตัวนั้นประดุจดั่งฝังเหล็กไหล เพียงแต่นี่ไม่ไหล  แล้วซ้ำร้ายต้องมานั่งหาทางเอาออกอีก  แต่ปัญหาที่ผมโม้ให้ฟังจะไม่มีถ้าเราใช้เข็มเบอร์18Gx1"ดิ้นยังไง ก็ไม่หักคาคับยกเว้นว่าสุดๆจริงๆเต็มที่คือแค่งอ  พออ่านถึงตรงนี้บางคนคิดว่าโอ้ววว...เข็มเบอร์18Gนี่แข็งแรงทนทานรูใหญ่ ปล่อยยาไว ไฉนเลยเราก็ควรเอาเบอร์นี้ล่ะไปฉีดยากับทุกสรรพสัตว์  ว่าแล้วก็เอาเข็มเบอร์18G ไปปักหน้าอกเป็ดที่ป่วยอยู่  ทุกคนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ  ใช่ครับมันอาจจะฉีดได้แต่มันก็ทารุณสัตว์มากไป  เราก็ควรใช้เบอร์23ไม่ดีกว่าเหรอ
      ชนิดยาที่ใช้ก็มีผลครับ ยาที่ส่วนประกอบน้ำมันจะหนืดมากดังนั้นเวลาจะให้ยาต้อง-ขนาดเบอร์เข็มไปอีกสัก2-3เบอร์เลย เช่นฉีดยาทั่วๆไปในแพะแกะเราใช้เข็มเบอร์22-23 แต่พอจะฉีดยาถ่ายพยาธิที่หนืดๆเราก็ใช้เบอร์21 แนวๆนี้ครับ
   

       สุดท้ายเข็มพวกนี้หากใช้บ่อยๆความคมจะหายครับ ตามภาพลองจินตนาการ เราใช้เข็มซ้ำๆแล้วเอามาแทงตัวเองแต่ไม่เข้า ฮ่าาาาาา


วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรื่องการฉีดยาสัตว์ ระดับอนุบาล1 (ไซริ้งค์)กระบอกฉีดยา

    สัตว์เลี้ยงของเรานั้นเป็นสิ่งมีชีวิตครับ  ดังนั้นย่อมต้องหนีเทวทูตทั้ง4ไม่พ้น นั่นคือเกิด  แก่ เจ็บ  ตาย  ทีนี้เรามาดูกันว่าตอนเจอการเจ็บป่วย สิ่งที่เราต้องทำคือการรักษา  การรักษานั้นมีต้องมีช่องทางการให้ยาทีนี้จะคุยเรื่องการฉีดยาก่อนนะครับ  การฉีดยานั้นจะมีช่องทางหลักๆดังนี้ครับ
    ฉีดยาเข้ากล้าม
   ฉีดเข้าเส้นเลือด
   ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่าฉีดยังไงไปดูก่อนว่า  ไซริ้งค์(Syringe)กับเข็ม(Needle)นั้น ที่มันมีตัวเลขมีสีนั้น สำคัญยังไง เพราะเขาคงไม่แถมมาให้เราเอาไปตีเป็นเลขหวยแน่ๆ
ไซริ้งค์หรือที่เราเรียกว่ากระบอกฉีดยานั้นมีหลายแบบมากครับ มีทั้ง ใช้ทีเดียวแล้วทิ้ง หรือแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้  ซึ่งการนำมาใช้กับสัตว์นั้นให้ดูตามความเหมาะสมกับงาน  ชนิดยา  ชนิดสัตว์  ครับ เพราะปัจจัยที่มีมากมายเราเลยมีตัวเลือกเยอะมาก  แต่หลักการเลือกพอคุยๆคร่าวๆแบบงูๆปลาๆดังนี้ล่ะกันครับ
เราจะเลือกใช้ไซริ้งค์  หรือกระบอกฉีดยา ยังไงดีน้าาา? 
ปริมาณยา   เราต้องเลือกใช้ขนาดไซริ้งให้เหมาะสมกับปริมาณยาที่เราจะฉีดให้แก่สัตว์นั้นครับ  ลองจินตนาการถ้าเราจะเอาไซริ้งค์ที่ความจุ5ซีซีไปฉีดยาวัวพ่อพันธ์ุที่ต้องใช้ยา40ซีซี  เท่ากับเราต้องมานั่งดูดยา8รอบเลยครับ พอดีวัวก้นพรุนพอดี  แต่ถ้าเราใช้ไซริ้งค์20ซีซีเราฉีดแค่2รอบเอง  อันนี้เป็นการยกตัวอย่างนะครับ  หรือถ้างั้นมีคนบอกมาว่างั้นเราใช้ไซริ้ง20ซีซีตลอดเลยล่ะดีไหม  ยาบางตัวใช้น้อยมากครับเช่นยาสลบในวัวต้องคำนวณ  เป็นหลัก0.?ซีซีเลย  พลาดไปหลับยาวเลย ดังนั้นอาจต้องใช้ไซริ้งค์ที่ละเอียดกว่านั้นครับ
ไซริ้งค์ขนาด1ซีซี

ชนิดยา  ยาบางตัวกัดพลาสติกครับ  เช่นวิตามินบางชนิด  ใช้ทีเดียวไหลออกมาโดนด้านนอกตัวเลขหายหมดเลยคร้าบบบบ  หรือไม่ก็กดไม่ลงเลย  เพราะยากัดพลาสติกไปแล้ว  ดังนั้นก็ต้องดูชนิดยาด้วยครับ
ชนิดสัตว์  อันนี้ไม่ต้องพูดมากล่ะมั้งครับ ง่ายๆเลยเอาเป็นว่าเอาไซริ้งค์20ซีซีมาฉีดกระต่ายก็คงกะไรๆอยู่
        ไซริ้งค์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งนี่ มีแบบล็อคหัวได้  กับแบบล็อคหัวไม่ได้นะครับ  การเลือกใช้ก็อยู่ที่ว่าสไตล์การฉีดยาเป็นแบบไหน  ถ้าในสัตว์ใหญ่เขามักจะปักเข็มลงไปก่อนแล้วค่อยเอาไซริ้งค์มาเสียบแล้วเดินยา ครั้นจะใช้แบบล็อคหัวเข็ม(มันจะเป็นเกลียวที่ปลายหัว)ก็ต้องมานั่งหมุน พอดีวัวดิ้นหลุด ปักใหม่ หมุนใส่ ดิ้นหลุด  เป็นแบบนี้ตามวัฎจักร มือใหม่  เราก็แก้โดยใช้แบบไม่มีหัวล็อคจะได้เสียบเข็มได้เลย แล้วใช้การพริ้วไหวของมือบังคับไซริ้งค์เอาไม่ให้เข็มหลุด  เหมือนฝึกวิชาฝ่ามือเมฆาล่องลอย (นอกเรื่องแปป)
ไซริ้งค์แบบไม่ล็อคหัวไซริ้งค์แบบล็อคหัว





 นอกจากนี้ก็ยังมีไซริ้งค์แบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เรามักเรียกว่าไซริ้งค์ไนล่อน ไซลิ้งค์เข็มกระแทก(คาดว่ามาจากพฤติกรรมการใช้ตอนปักฉีดวัคซีน) ซึ่งก็มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตัวไซริ้งค์เป็นพลาสติกหนา  มีแหวนยางโอลิ้งกันยาซึม(แต่ถ้าเสื่อมเมื่อไหร่ก็จบกัน)  ปลายหัวเป็นเหล็กเงางาม ก้านเป็นเหล็ก มีด้ามจับกระชับมือ ควรค่าแก่การรักษา ราคาก้แพงกว่าไซริ้งค์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง  ไซริ้งค์แบบนี้มักนำมาใช้ในการฉีดวัคซีนเพราะจะเอามาใส่กะเข็มเหล็กที่ขนาด3/4 เพื่อปักทีเดียวทะลุถึงหัวใจ เอ้ยไม่ใช่ ทะลุใต้หนังพอดี เร็วดีด้วย ไม่หลุดมือง่ายๆ แต่บางทีก็นำมาฉีดยาทั่วๆไปครับ ไม่ว่าจะเป็นยาบำรุง ยาปฎิชีวนะ ยาถ่ายพยาธิ  ซึ่งก็ดีตรงที่เร็วดี แบบทิ่มเต็มที่ กดทีเดียว  ทำนองนี้แต่ปัญหาคือถ้าไม่สะอาด หรือยาเก่าที่ล้างไม่หมดแล้วใส่ยาตัวอื่นเข้าไปยาอาจทำปฎิกริยากันตกตะกอน เสียหายได้  ดังนั้นการใช้ไซริ้งค์แบบนี้ให้คำนึงถึง การปนกันของยา ความสะอาดให้มากครับ
ไซริ้งค์ไนล่อน


นอกจากนี้ก็ยังมีออโตไซริ้งค์ ซึ่งไซริ้งค์แบบนี้มักใช้ในการที่ต้องให้ยาขนาดเดียวกันแก่สัตว์ที่ปริมาณมากๆๆเช่นให้วัคซีนในไก่ ลูกหมู ครั้นจะมานั่งดึงยาทีละเข็มเปลี่ยนไซริ้งค์ทีละอันไก่เป็นพันๆตัวฉีดข้ามวันแน่เลยครับ โดยไซริ้งค์แบบนี้จะตั้งปริมาณการให้ยาได้ เรามีหน้าที่จิ้มแล้วกดอย่างเดียวครับ ยาจะถูกเติมมาทางสายยางตลอด ทีนี้กดกันเพลินเลย  แต่ข้อเสียคือหากจะเปลี่ยนยาที่จะฉีดทียุ่งยากเอาเรื่องเลย ดังนั้นเขาจึงใช้กับการให้วัคซีนมากกว่าครับ
        สรุปว่า ใครใคร่ใช้ ถนัดอย่างไรก็ตามสบายครับ ขึ้นกับความถนัดเฉพาะบุคคล  เพราะไซริ้งค์เป็นแค่อุปกรณ์ที่ไว้เก็บกักยาไว้ข้างใน แต่สัตว์จะหายไม่หาย การรักษาจะประสพผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับคนที่ถือมันมากกว่าครับ
        คราวหน้ามาคุยกันเรื่องเข็มต่อนะครับ ใครอยากให้เพิ่มอะไรติชมตรงไหนบอกนะครับบบ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรื่องวัวป่วยยยย..ย....ย..........ย....ย

  สัตว์ป่วย  คาดว่าคนที่เลี้ยงสัตว์ทุกคน   ไม่มีใครหลีกหนีพ้นครับ  ขนาดคนยังเกิดแก่เจ็บตายเลย  อันนี้สัตว์นะครับพูดไม่ได้  ยิ่งบางชนิดเป็นพวกที่ต้องทำตัวเองให้แข็งแรงเพราะในธรรมชาติต้องถูกล่า ด้วยนี่ยิ่งแอ๊บHealthyใหญ่เลย  กว่าจะรู้ว่าป่วยก็นอนพะงาบๆ รอพระมานิมนต์สวดตอนท้ายล่ะ
           ปัญหาคือ สัตว์พูดไม่ได้คร้าบบบบ  ว่า"เอ้ออ  ลุกพี่วันนี้กระผมรู้สึกไม่สบาย เหงื่อที่จมูกไม่มี  อุณหภูมิวัดที่ใต้ซอกเล็บแล้วเกินไป4องศาฟาร์เรนไฮต์ "  ถ้ามีสัตว์มีพูดแบบนี้จะซื้อมารีดน้ำเชื้อทำพันธ์ โคลนนิ่งตายแล้วโคลนแล้วตายแล้วโคลนอีก  เป็นร้อยรอบเลย  แต่ธรรมชาติก็ไม่ได้แล้งน้ำใจครับ  ยังอุตสาห์ มอบวิธีช่วยเหลือสัตว์ร่วมโลกแก่คนเราได้นั่นคือ วิธีเหล่านี้ครับ
1.ตา เอาไว้ดูครับ ดูสภาพร่างกายทั่วไปๆ  เช่น ผอม อ้วน  สภาพขน  ผิวหนัง  มีน้ำมูกน้ำตาไหม เพราะของแบบนี้สัตว์ปกติไม่มีนะค้าบบบ ดังนั้นสำคัญคือเราต้องเคยเห็นสัตว์ปกติมาก่อนนะค้าบบบ

2.หู คับเอาไว้ดม เอ้ยยย!!ไม่ใช่    แต่เอาไว้ ฟัง ครับบอกแบบนี้ไม่ใช่ไปนั่งรอมันพูดนะครับ แต่ไว้ให้ฟังเสียงที่ผิดปกติ จากระบบอวัยวะภายในร่างกายครับ  เช่นระบบทางเดินหายใจ  ระบบทางเดินอาหาร เสียงหัวใจ แนวนี้ครับ  ว่ามันผิดปกติหรือไม่  แต่เราก็ต้องเคยฟังเสียงปกติมาก่อนค้าบบ ไม่งั้นก้ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราได้ยินมันผิดปกติหรือปกติหรือป่าววว


3.มือ เอาไว้คลำค้าบ  มืดๆๆนี่ผู้ชายมักจะได้เปรียบ อะคึอะคึ   การคลำจะช่วยตรวจหลายอย่างครับเพราะเราจะสัมผัสได้ถึงความผิดปกติได้เช่น  การเรียงตัวของกระดูก  การพบสิ่งแปลกปลอมในตัวสัตว์  เพราะบางทีเรามองด้วยตาเปล่ามันจะกลายเป็นสิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำครับ เช่นการบวมน้ำ อักเสบ ฝี  แนวๆนี้ถ้าเราคลำจะแยกได้เลย  แต่ในโคเราจะใช้บ่อยมากคือการตรวจระบบสืบพันธ์ครับ เช่นตรวจรังไข่ การตั้งท้อง แนวๆนี้คับ 
4.เคาะ    เป็นการใช้หลักการฟังเสียงที่สะท้อน กลับมาจากความหนาแน่นภายในครับ  เราจะเห็นการใช้ประโยชน์จากการเคาะจากการฟังเสียงปอด  การตรวจหาเสียงปิ๊งในวัวที่เป็นกระเพาะแท้พลัดที่  
เสียงตามวาปนี้ไปเลยค้าบบบ








แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรับรู้ข้อมูลประวัติสัตว์ เช่น อายุ เพศ พันธ์ อาหาร การเลี้ยง  ทั้งหมดนี้จะได้มาจากการเอ่ยปากถามเจ้าของ แล้วเราก็เอามาประกอบการตรวจร่างกายโดยละเอียดอีกที  เพราะบางทีเจ้าของก็ไม่รู้เหมือนกันแต่มีคนถามกลัวเสียฟอร์มก็ขอมโนเอาไว้ก่อนละกัน
 สุดท้ายลองดูอีกคลิปละกันครับ หมอDr. Hue Karreman คนนี้เขาตรวจร่างกายได้ค่อนข้างจะดีมากจริงๆ เสียอย่างเดียวสปีคอิงลิชหมดเลย


ยังไง ลองเอาค่าParameterคร่าวๆไปดูเป็นไกด์ไลน์ก่อนนะครับ แล้วจะหาแบบเนื้อๆเน้นๆๆมาอีกที