วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรื่องการฉีดยาสัตว์ ระดับอนุบาล1 (ไซริ้งค์)กระบอกฉีดยา

    สัตว์เลี้ยงของเรานั้นเป็นสิ่งมีชีวิตครับ  ดังนั้นย่อมต้องหนีเทวทูตทั้ง4ไม่พ้น นั่นคือเกิด  แก่ เจ็บ  ตาย  ทีนี้เรามาดูกันว่าตอนเจอการเจ็บป่วย สิ่งที่เราต้องทำคือการรักษา  การรักษานั้นมีต้องมีช่องทางการให้ยาทีนี้จะคุยเรื่องการฉีดยาก่อนนะครับ  การฉีดยานั้นจะมีช่องทางหลักๆดังนี้ครับ
    ฉีดยาเข้ากล้าม
   ฉีดเข้าเส้นเลือด
   ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่าฉีดยังไงไปดูก่อนว่า  ไซริ้งค์(Syringe)กับเข็ม(Needle)นั้น ที่มันมีตัวเลขมีสีนั้น สำคัญยังไง เพราะเขาคงไม่แถมมาให้เราเอาไปตีเป็นเลขหวยแน่ๆ
ไซริ้งค์หรือที่เราเรียกว่ากระบอกฉีดยานั้นมีหลายแบบมากครับ มีทั้ง ใช้ทีเดียวแล้วทิ้ง หรือแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้  ซึ่งการนำมาใช้กับสัตว์นั้นให้ดูตามความเหมาะสมกับงาน  ชนิดยา  ชนิดสัตว์  ครับ เพราะปัจจัยที่มีมากมายเราเลยมีตัวเลือกเยอะมาก  แต่หลักการเลือกพอคุยๆคร่าวๆแบบงูๆปลาๆดังนี้ล่ะกันครับ
เราจะเลือกใช้ไซริ้งค์  หรือกระบอกฉีดยา ยังไงดีน้าาา? 
ปริมาณยา   เราต้องเลือกใช้ขนาดไซริ้งให้เหมาะสมกับปริมาณยาที่เราจะฉีดให้แก่สัตว์นั้นครับ  ลองจินตนาการถ้าเราจะเอาไซริ้งค์ที่ความจุ5ซีซีไปฉีดยาวัวพ่อพันธ์ุที่ต้องใช้ยา40ซีซี  เท่ากับเราต้องมานั่งดูดยา8รอบเลยครับ พอดีวัวก้นพรุนพอดี  แต่ถ้าเราใช้ไซริ้งค์20ซีซีเราฉีดแค่2รอบเอง  อันนี้เป็นการยกตัวอย่างนะครับ  หรือถ้างั้นมีคนบอกมาว่างั้นเราใช้ไซริ้ง20ซีซีตลอดเลยล่ะดีไหม  ยาบางตัวใช้น้อยมากครับเช่นยาสลบในวัวต้องคำนวณ  เป็นหลัก0.?ซีซีเลย  พลาดไปหลับยาวเลย ดังนั้นอาจต้องใช้ไซริ้งค์ที่ละเอียดกว่านั้นครับ
ไซริ้งค์ขนาด1ซีซี

ชนิดยา  ยาบางตัวกัดพลาสติกครับ  เช่นวิตามินบางชนิด  ใช้ทีเดียวไหลออกมาโดนด้านนอกตัวเลขหายหมดเลยคร้าบบบบ  หรือไม่ก็กดไม่ลงเลย  เพราะยากัดพลาสติกไปแล้ว  ดังนั้นก็ต้องดูชนิดยาด้วยครับ
ชนิดสัตว์  อันนี้ไม่ต้องพูดมากล่ะมั้งครับ ง่ายๆเลยเอาเป็นว่าเอาไซริ้งค์20ซีซีมาฉีดกระต่ายก็คงกะไรๆอยู่
        ไซริ้งค์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งนี่ มีแบบล็อคหัวได้  กับแบบล็อคหัวไม่ได้นะครับ  การเลือกใช้ก็อยู่ที่ว่าสไตล์การฉีดยาเป็นแบบไหน  ถ้าในสัตว์ใหญ่เขามักจะปักเข็มลงไปก่อนแล้วค่อยเอาไซริ้งค์มาเสียบแล้วเดินยา ครั้นจะใช้แบบล็อคหัวเข็ม(มันจะเป็นเกลียวที่ปลายหัว)ก็ต้องมานั่งหมุน พอดีวัวดิ้นหลุด ปักใหม่ หมุนใส่ ดิ้นหลุด  เป็นแบบนี้ตามวัฎจักร มือใหม่  เราก็แก้โดยใช้แบบไม่มีหัวล็อคจะได้เสียบเข็มได้เลย แล้วใช้การพริ้วไหวของมือบังคับไซริ้งค์เอาไม่ให้เข็มหลุด  เหมือนฝึกวิชาฝ่ามือเมฆาล่องลอย (นอกเรื่องแปป)
ไซริ้งค์แบบไม่ล็อคหัวไซริ้งค์แบบล็อคหัว





 นอกจากนี้ก็ยังมีไซริ้งค์แบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เรามักเรียกว่าไซริ้งค์ไนล่อน ไซลิ้งค์เข็มกระแทก(คาดว่ามาจากพฤติกรรมการใช้ตอนปักฉีดวัคซีน) ซึ่งก็มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตัวไซริ้งค์เป็นพลาสติกหนา  มีแหวนยางโอลิ้งกันยาซึม(แต่ถ้าเสื่อมเมื่อไหร่ก็จบกัน)  ปลายหัวเป็นเหล็กเงางาม ก้านเป็นเหล็ก มีด้ามจับกระชับมือ ควรค่าแก่การรักษา ราคาก้แพงกว่าไซริ้งค์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง  ไซริ้งค์แบบนี้มักนำมาใช้ในการฉีดวัคซีนเพราะจะเอามาใส่กะเข็มเหล็กที่ขนาด3/4 เพื่อปักทีเดียวทะลุถึงหัวใจ เอ้ยไม่ใช่ ทะลุใต้หนังพอดี เร็วดีด้วย ไม่หลุดมือง่ายๆ แต่บางทีก็นำมาฉีดยาทั่วๆไปครับ ไม่ว่าจะเป็นยาบำรุง ยาปฎิชีวนะ ยาถ่ายพยาธิ  ซึ่งก็ดีตรงที่เร็วดี แบบทิ่มเต็มที่ กดทีเดียว  ทำนองนี้แต่ปัญหาคือถ้าไม่สะอาด หรือยาเก่าที่ล้างไม่หมดแล้วใส่ยาตัวอื่นเข้าไปยาอาจทำปฎิกริยากันตกตะกอน เสียหายได้  ดังนั้นการใช้ไซริ้งค์แบบนี้ให้คำนึงถึง การปนกันของยา ความสะอาดให้มากครับ
ไซริ้งค์ไนล่อน


นอกจากนี้ก็ยังมีออโตไซริ้งค์ ซึ่งไซริ้งค์แบบนี้มักใช้ในการที่ต้องให้ยาขนาดเดียวกันแก่สัตว์ที่ปริมาณมากๆๆเช่นให้วัคซีนในไก่ ลูกหมู ครั้นจะมานั่งดึงยาทีละเข็มเปลี่ยนไซริ้งค์ทีละอันไก่เป็นพันๆตัวฉีดข้ามวันแน่เลยครับ โดยไซริ้งค์แบบนี้จะตั้งปริมาณการให้ยาได้ เรามีหน้าที่จิ้มแล้วกดอย่างเดียวครับ ยาจะถูกเติมมาทางสายยางตลอด ทีนี้กดกันเพลินเลย  แต่ข้อเสียคือหากจะเปลี่ยนยาที่จะฉีดทียุ่งยากเอาเรื่องเลย ดังนั้นเขาจึงใช้กับการให้วัคซีนมากกว่าครับ
        สรุปว่า ใครใคร่ใช้ ถนัดอย่างไรก็ตามสบายครับ ขึ้นกับความถนัดเฉพาะบุคคล  เพราะไซริ้งค์เป็นแค่อุปกรณ์ที่ไว้เก็บกักยาไว้ข้างใน แต่สัตว์จะหายไม่หาย การรักษาจะประสพผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับคนที่ถือมันมากกว่าครับ
        คราวหน้ามาคุยกันเรื่องเข็มต่อนะครับ ใครอยากให้เพิ่มอะไรติชมตรงไหนบอกนะครับบบ

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอข้อแนะนำการเลือกใช้เข็มและไซร้งในการดูดน้ำจากช่องท้องสุนัข ขนาดเล็ก มอลทิสชิสุ
    ด่วนครับ

    ตอบลบ